ตัวอย่างมีดังนี้
- นางรจนา...เป็นพระธิดาของท้าวสามลและพระนางมณฑาแห่งเมืองสามล นางมีพี่สาวทั้งหมด 6 นาง...และนางเป็นน้องคนสุดท้อง
2. นางมโนราห์... นางมโนราห์เป็นธิดาองค์สุดท้องของราชาแห่งกินนรในป่าหิมพานต์ นางมีพี่สาว 6
นาง รวมนางด้วยก็มีกินรีทั้งหมด 7 นาง
3. นางมัทนา...วรรณคดี
เรื่องมัทนะพาธา หรือ
ตำนานดอกกุหลาบของไทยเป็นบทพระราชนิพนธ์ละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์
ในสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ตามจินตนาการที่มีพระราชดำริขึ้นในพระราชหฤทัย
มัทนะพาธา เป็นเรื่องราวของเทพธิดามัทนา
นางฟ้าผู้ที่มีรูปโฉมงดงามมาก จนความงามนั้นส่งผลร้ายแก่ตนเอง
ต้องถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นต้นกุหลาบต้นแรกบนโลกมนุษย์ เทพธิดา
มัทนาเป็นตัวละครเอกของเรื่องที่มีความสำคัญในการดำเนินเรื่อง
โดยสามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นได้เด่นชัด
4. นางบุษา...นางบุษบา เป็นธิดาท้าวดาหากับประไหมสุหรี มีรูปโฉมงดงามปานนางอัปสรสวรรค์
มีอนุชาชื่อ สียะตรา และเป็นคู่ตุนาหงันกับอิเหนา โอรสท้าวกุเรปัน...
แต่ต่อมา อิเหนาไปหลงนางจินตราวาตี (ธิดาระตูหมันหยา) และออกปากตัดรอนนางบุษบา ท้าวดาหาพิโรธมากและตรัสว่าจะยกบุษบาแก่คนแรกที่มาสู่ขอ ปรากฎว่าคนที่มาสู่ขอคนแรกคือ ระตูจรกา ผู้อ้วนพุงพลุ้ย ผิวดำดั่งถ่าน หน้าตาอัปลักษณ์ เสียงหยาบกร้าน ท้าวดาหาเองก็คืนคำไม่ได้ เลยจำใจยกให้...
ต่อมาอิเหนาเดินทางมาช่วยศึกที่ดาหาและได้พบกับบุษบาก็หลงรัก และพิโรธจรกามากที่ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์มาหมายปองนางหงส์เช่นนี้...
5. พระเพื่อนพระแพง...วรรณคดีเรื่องพระลอกล่าว
ถึงความรักที่กลายเป็นความหลงใหลของหนุ่มสาวสองเมืองที่อดีตมีความแค้นเคือง
ต่อกันมาก่อน
ด้วยความรักที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมจนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมความรักขึ้น
แต่ถึงจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในด้านเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
แต่ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นลิลิตที่บรรยายความได้ลึกซึ้งกินใจ ถึงบทรัก
เศร้าโศกและธรรมชาติมีหลายบทที่นำมาท่องกันจนจำขึ้นใจ
นางเอกวรรณคดีเรื่องนี้ มีสองพี่น้องคือพระเพื่อนพระแพง
เป็นนางเอกที่มีรูปโฉมสคราญ และเป็นถึงลูกเจ้าผู้ครองนคร
แต่เรื่องความรักไม่เข้าใครออกใครไม่ว่าชนชั้นระดับใด เมื่อรักจนหลงแล้ว
ก็ลืมความผิดชอบชั่วดี ผิดถูกได้ทั้งสิ้น
6. นางตะเภาแก้ว-ตะเภาทอง...นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง...เป็นลูกสาวสองศรีของพระพิจิตร เศรษฐีแห่งพิจิตรและนางสาคร...
นางตะเภาแก้วเป็นพี่นางตะเภาทองเป็นน้องสองพี่น้องนี้งดงามเป็นยิ่งนัก ชายหนุ่มหมู่บ้านใดตำบลใดก็ต่างอยากได้สองนางโฉมงามนี้มาเป็นภรรยา แต่พระพิจิตรหวงลูกสาวมาก ไม่ยอมยกลูกสาวให้ชายใดเลย
7. นางสีดา... นางสีดา เป็นธิดาของพญายักษ์ทศกัณฐ์ กับนางมณโฑผู้เป็นมเหสีรอง ความจริงเเล้วก่อนจะมาเกิดเป็นนางสีดา นางคือ "พระลักษมี" เทพชายาแห่ง
"พระนารายณ์" ผู้ปกครองเกษียณสมุทร (ทะเลน้ำนม)
เมื่อพระนารายณ์ต้องแบ่งภาคมากำเนิดบนโลกมนุษย์เพื่อปราบพญายักษ์ทศกัณฐ์
พระลักษมีเทพชายาจึงขอแบ่งภาคตามมาเกิดด้วย...
8. นางมณโฑ... นางมณโฑนั้น...แต่เดิมเป็นนางกบอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำนมของฤาษีผู้ทรงศีล
วันหนึ่งมีนางนาคที่แค้นฤาษีมาคายพิษที่บ่อน้ำนม หวังฆ่าพระฤาษี
ด้วยความกตัญญูกตเวที นางกบจึงตัดสินใจดื่มน้ำนมในบ่อนั้นจนหมด
และขาดใจตายอยู่ริมบ่อนั่นเอง...
9. นางอุษา...
นางอุสานั้น...เมื่อชาติปางก่อนเคยเป็นนางอัปสรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เเต่นางทำผิดกฎสวรรค์ จึงถูกพระอินทร์ลงโทษให้มาจุติในดอกบัวกลางสระน้ำใกล้กับอาศรมของฤาษีจันทา
ฤาษีจันทามาพบนางซึ่งเป็นทารกน้อยอยู่ในดอกบัวจึงรับนางมาอุปการะเลี้ยงดู
เรื่องของทารกน้อยนี้ไปถึงหูเจ้าเมืองพานและมเหสี ทั้งสองซึ่งยังไม่มีโอรสธิดาจึงขอนางอุสาจากฤาษีจันทาเพื่อนำนางมาเลี้ยงดู ในฐานะพระธิดา ฤาษีจันทาก็ยกให้...
10. นางพิมพิลาไลย...นางวันทองมีชื่อเดิมว่าพิมพิลาไลย(ตายาย
ตั้งให้) เป็นลูกสาวของพันศรโยธากับนางศรีประจัน
และเป็นเพื่อนกับพลายแก้ว(ขุนแผน) และขุนช้างมาตั้งแต่เด็กๆ บ้านของนางพิม
(ขอเรียกสั้นๆ) อยู่ที่สุพรรณบุรี
แต่ต่อมาพลายแก้วย้ายไปอยู่ที่กาณจนบุรีกับแม่ (นางทองประศรี) เพราะพ่อ
(ขุนไกรพลพ่าย) ถูกลงอาญา...
นางพิมหน้าตาน่ารักและสวยงามมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นจึงยิ่งงดงาม วัน
หนึ่งได้มาเจอพลายแก้วก็บวชเป็นพระหนุ่มอยู่
และทั้งสองก็รักกันตั้งแต่ตอนที่พลายแก้วยังไม่สึกด้วยซ้ำ
ทว่าต่อมาขุนช้างก็มาตกหลุมรักนางพิม ถึงขนาดยกเงินทองมากมายมาสู่ขอ
แต่ก็โดนนางพิมไล่ด่าทอจนทนไม่ไหวต้องกลับบ้านไป...หลังจากนั้นไม่นานพลายแก้วก็มาสู่ขอนางพิม และได้แต่งงานกัน ท่ามกลางความไม่พอใจของขุนช้าง...
แต่หลังจากนั้นได้ไม่กี่วัน พระพันวษา(กษัตริย์ผู้ครองอยุธยาในสมัย นั้น) กำลังจะหาแม่ทัพมายกทัพไปปราบข้าศึก ขุนช้างจึงเสนอชื่อพลายแก้วไป ทำให้พลายแก้วต้องจากนางพิมไปทั้งๆที่อยู่เรือนหอด้วยกันไม่ถึงเจ็ดวันด้วย ซ้ำ
จัดทำโดย
ด.ช.คณิศร อรุณแสงศิลป์ เลขที่ 4
ด.ช.จักรินทร์ หรั่งทอง เลขที่ 6
ด.ช.จิรายุ ผลจรัญ เลขที่ 9
ด.ช.ชัยลักษณ์ ธนเจริญชัย เลขที่ 11
ด.ช.นำพล อันยงค์ เลขที่ 12
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น